บทสวดมนต์ ในศาสนาพุทธนิกายเถรวาทนิยมใช้ภาษาบาลี
ซึ่งหากแปลความหมายออกมาก็จะพบว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นคำสวดบูชาเพื่อรำลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัย
อันได้แก่พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ แทบทั้งสิ้น จึงเป็นอุบายในการเจริญสติอย่างหนึ่ง
ที่เรียก พุทธานุสติ ธรรมานุสติ และสังฆานุสติ นั่นเอง การสวดมนต์ทุกครั้ง
จึงเริ่มด้วยคำบูชาพระบรมศาสดาว่า "นโม ตสฺสะ ภควโต อรหโต
สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส" แปลโดยรวมว่า
"ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น"
การสวดมนต์
เป็นภาระกิจประประจำของพระ (วัตร แปลว่า ข้อปฏิบัติประจำ, ข้อปฏิบัติประจำวัน)
เป็นวิธีการรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แม่นยำมาก
แม่นยำกว่าการคัดลอกด้วยตัวอักษร
พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระสาวกของพระองค์ ก่อนเสด็จปรินิพพาน "
เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว พระธรรมวินัยที่เราแสดงไว้ บัญญัติใว้แล้ว
จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย "
ในสมัยก่อนการบันทึกพระธรรคำสอนให้แม่นยำถูกต้องเหมือนต้นฉบับเดิมทุกประการมีความยากลำบาก
และไม่เป็นที่วางใจว่าสิ่งที่บันทึกจะเหมือนกับต้นฉบับเดิม
พระในยุคสมัยพระพุทธเจ้า จะทำสังคีติหรือสังคยาณาแปลว่า สวดพร้อมๆ กัน
ซึ่งเป็นการรักษาพระธรรมคำสอนได้อย่างถูกต้องแม่นยำที่สุด ในสมัยก่อนการทำที่ทำให้
คำสอนของพระพุทธเจ้าคลาดเคลื่อน ถือเป็นเรื่องร้ายแรงมาก พระเถระที่มีลูกศิษย์มากๆ
ก็จะแบ่งพระธรรมคำสอนไปท่องแล้วมาสวดสาธยายกัน การรักษาคำสอนพระเถระจะแบ่งหน้าที่กันจำไปสวดกันเพื่อรักษาคำสอน
เป็นการรักษาพระธรรมคำสอนให้คงอยู่อย่างถูกต้องที่สุด เพราะการสวดพร้อมกันๆ
หลายๆคนจะผิดไม่ได้ ตกหล่นไม่ได้
ถือว่าดีที่สุดในยุคนั้นเป็นวิธีรักษาคำสอนที่แม่นยำมากดียิ่งกว่าตัวหนังสือ พอถึง พ.ศ. 400 ตอนปลายถึง พ.ศ 500 ที่ประเทศลังกา
มีการบันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นตัวอักษร การบันทึกในครั้งนี้
มีการป้องกันการผิดพลาดอย่างรอบคอบมาก
การสร้างการเผยแพร่พระธรรมคำสอน ในสมัยโบราณให้ความสำคัญมาก ถือว่าการสร้างพระธรรม ๑ตัวอักษร
เทียบเท่ากับการสร้างพระพุทธรูป ๑ องค์เขาความสำคัญกันมากจริงๆ
![]() |
รูปที่ 1.1 สวดมนต์ |
บทสวดมนต์ของพุทธศาสนาที่ใช้สวดอยู่ในปัจจุบัน
มีด้วยกัน ๓ประเภท
๑.เป็นคำสอนพระพุทธเจ้า พุทพจน์ต่าง
คัดมาจากพระไตรปิฎก
๒.บทสัญเสริญคุณของพระรัตนไตร พระพุทธคุณ, พระธรรมคุณ, พระสงฆ์คุณ
๓.บทสวดอวยชัยให้พร
เป็นบทสวดมนต์ที่เรียบเรียงขึ้นภายหลัง พระอาจารย์ต่างๆภายหลังเรียบเรียงขึ้น
บทสวดมนต์ประเภทนี้ต้องระมัดระวังในการสวด เพราะอาจนำไปสู่ความเพี้ยน
ออกนอกพุทธศาสนาได้

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น